วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.. 2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน
            1.เทคนิคและวิธีการการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กพิเศษ
            2.การให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ความรู้เพิ่มเติม
            การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention) มีความหมายเช่นเดียวกับการให้
การศึกษาระยะแรกเริ่ม หมายถึงการจัดโปรแกรมที่เป็นระบบในการให้บริการด้านต่างๆโดยเร็วที่สุดแก่เด็ก
ที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันทีตั้งแต่แรกเกิด หรือทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการโดยมุ่งเน้นการให้
การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาให้เด็กได้รีบบริการจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ ทั้ง
ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนความพิการที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เด็กมี
พัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กปกติ หรือใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด
            การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มในประเทศไทย มีพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคน
พิการ พ.. 2534 ในสาระสำคัญประเด็นหลักที่จะให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกด้าน แต่ยังไม่มี
กฎหมายเรื่องการใบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตามมีหน่วยงานของภาครัฐและ

เอกชนที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้บริการไปบ้างแล้ว เช่น ศูนย์การศึกษาพิเศษต่างๆ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.. 2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน
            การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น ต้องเกิดจากการทำงาน
ร่วมกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ซึ่ง ได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู นักเรียน และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
ความรู้เพิ่มเติม
            ความหายของคำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
            ผดุง อารยะวิญญู (2533: 2) กล่าวว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความ
ต้องการทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็กปกติ การให้การศึกษาสำหรับเด็กเหล่านี้จึงมีลักษณะแตกต่างไป
จากเด็กปกติทั้งในด้านเนื้อหิวิธีการและการประเมิลผล จึงเป็นเด็กกลุ่มเดียวกันกับเดกนอกระบบ แต่คำว่า
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นคำใหม่ จึงได้รับความนิยมใช้มากขึ้น เพราะความรู้สึกในทางบวก
            แอชแมนและเอลกิ้นส์ กล่าวว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีต้องการทางการ
ศึกษาเฉพาะของตัวเอง จึงจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้านเนื้อหาและหลักสูตร
กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
            จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความ
ต้องการที่จำเป็น เนื่องมาจากสภาพของตัวเด็กเอง จนต้องปรับการจัดการศึกษาหรือสนับสนุนเพิ่มเติมตาม
ความจำเป็นสำหรับเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จสูงสุดตามศักยภาพของตน ทั้งนี้รวมถึงเด็ก
ที่มีความสามารถพอเศษด้วย ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงเรื่องการสอน เทคนิควิธีการสอน การบริการพิเศษ
ต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเด็กเกิดการเรียนรู้สูงสุดตามศักยภาพ

ของแต่ละบุคคล

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.. 2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
            เนื้อหาการเรียนหารสอน
เนื่องจากวันนี้ตรงกับวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยจึงไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน
            ความรู้เพิ่มเติม
แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized Education Plan
            แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้
เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของ
เด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
            1.ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
            2.ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
            3.การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
            4.เป้าหมายระยะยาวประจำปี
            5.ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
            6.วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ที่ได้รับ
            ตัวเด็ก
            1.ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
            2.ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
            3.ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
            4.ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
            ครู
            1.เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
            2.เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
            3.ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
            4.เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
            ผู้ปกครอง
            1.ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุด
ตามศักยภาพ
            2.ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
            3.เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้าน

กับโรงเรียน 

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.. 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน
            1.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ
            2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา
ความรู้เพิ่มเติม
            1.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ (lChildren with Physical and Health 
Impairments)
            หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะมาสมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วยขาดหายไป กระดูกและ
กล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหวซึ่ง
เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ ทั้งนี้ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัส ได้แก่ ตาบอด
หูหนวก
            เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ  สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท 
1.1 อาการบกพร่องทางร่างกายคือ
            - เด็กซีพี (Cerebral Palsy) มีลักษณะ คือ อัมพาต สมองพิการ หรือ สมองที่กำลังถูกพัฒนาก่อน
คลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
            - การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมอง
แตกต่างกัน
            2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา (Children with Communication Disoreders)
            หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องในเรื่องการออกเสียง เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและลีลา
จังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลมีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียน หรือ
ระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบของภาษา เนื้อหาของภาษาและหน้าที่

ของภาษาทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.. 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน
 1.เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน Children with hearing Tmpairment
            - ความหมาย
            - ลักษณะอาการ
ความรู้เพิ่มเติม
            สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟังจำแนกได้ 4 กลุ่มดังนี้
            -ระดับหูตึงเล็กน้อย         ค่าเฉลี่ย 26 – 40            เดซิเบล
            -ระดับหูตึงปานกลาง       ค่าเฉลี่ย 41 – 55            เดซิเบล
            -ระดับหูตึงมาก               ค่าเฉลี่ย 56 – 70            เดซิเบล
            -ระดับหูตึงรุนแรง            ค่าเฉลี่ย 71 – 90            เดซิเบล
2.เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใช้
เครื่องช่วยฟังหรือไม่ก็ตาม โดยทั่วไปหากตรวจวัดการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป
การวัดคิดค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์ และ 200 เฮิรตซ์


วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.. 2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน

            ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงวันปีใหม่

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9 วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.. 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
เนื้อหาการเรียนการสอน
            ไม่มีการเรียนการสอนในช่วงเทศกาลปีใหม่
ความรู้เพิ่มเติม
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล                               
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. การใช้แผน
-โดยต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล